Get Adobe Flash player

ปัจจุบันการขนส่งมีความสำคัญต่อธุรกิจเกือบทุกประเภททั้งในส่วนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิตการขาย และการจัดจำหน่าย ในหลายๆ ธุรกิจ ต้นทุนการขนส่งนับเป็นต้นทุนที่สำคัญ และกระทบต่อต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งโครงสร้างต้นทุนของผู้ประกอบการขนส่ง ประกอบด้วยต้นทุนดังต่อไปนี้

  1. ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามปริมาณการขนส่ง เช่น ค่าเช่าสถานที่จอดรถ เงินเดือนพนักงานขับรถ เป็นต้น
  2. ต้นทุนผันแปร (Variable cost) เป็นต้นทุนหรือ ค่าใช้จ่ายที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามปริมาณการให้บริการการขนส่ง เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมแซม ค่าน้ำมันหล่อลื่น เป็นต้น
  3. ต้นทุนรวม (Total cost) เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่รวมเอาต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรเข้าไว้ด้วยกัน ถือเป็นต้นทุนการบริการขนส่งทั้งหมด ทั้งนี้รวมถึงต้นทุนเที่ยวกลับ (Backhauling cost) ด้วย

ต้นทุนของผู้ประกอบการขนส่งจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาค่าขนส่ง ได้แก่

อ่านเพิ่มเติม: กลยุทธ์ในการลดต้นทุนการขนส่ง

การบริหารต้นทุนที่ดีถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรที่มีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่มีคู่แข่งขันเป็นจำนวนมากอย่างอุตสาหกรรมกาว อีกทั้งมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆพร้อมจะเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมตลอดเวลา การสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่โดยไม่ต้องลงทุนในทรัพยากรเพิ่มเติม ถือเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น จากการวิเคราะห์ต้นทุนรายกิจกรรมที่เกิดขึ้นขององค์กรในการนำทฤษฎีต้นทุนฐานกิจกรรมมาใช้ โครงการวิจัยนี้ยังจะนำมาต่อยอดและนำผลลัพธ์ที่ได้ มาหาแนวทางลดต้นทุนจากกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้น โดยนำวิธีการจัดเส้นทางการหยิบสินค้า (Routing Order Picker) มาประยุกต์ใช้ในการหาวิธีที่จะหยิบสินค้าให้ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในต้นทุนที่เหมาะสมที่สุด

อ่านเพิ่มเติม: การวิเคราะห์ต้นทุนและการลดต้นทุนโลจิสติกส์

การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของประเทศสมาชิกอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้มีการเปิดเสรีทางด้านการค้า การลงทุน ธุรกิจบริการ รวมถึงแรงงานมีฝีมือ ทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามาแข่งขันและเพิ่มสัดส่วน การลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยก็สามารถเข้าไปลงทุนและสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนได้เช่นกัน รวมถึงสร้างโอกาสการค้ากับกลุ่มคู่ค้าสำคัญๆ อย่างเช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี อินเดีย สหภาพยุโรป หรือสหรัฐอเมริกาได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม: ไทยพร้อมเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์อาเซียน

คำว่าโลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ (logistics) คือระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นต่างๆ ทุกอย่างที่มีการขนส่ง หรือเคลื่นย้ายจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการผสมผสานของ ข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่ สรุปง่ายๆก็คือ ทุกอย่างที่มีเกี่ยวกับการขนส่ง จะเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ทั้งหมด เป้าหมายของโลจิสติกส์ นั้นเพื่อ ให้ลดค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลาในการขนส่ง ลดปัญหาต่างๆ ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น โดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุด

อ่านเพิ่มเติม: โลจิสติกส์ หมายถึงอะไร

 ระบบ GPS ติดตามรถส่วนบุคคลและขนส่งสินค้าทั่วไป

 

ระบบ GPS ติดตามรถขนส่งที่ใช้เครื่องรูดบัตรใบขับขี่

 

ระบบ GPS ติดตามรถส่วนบุคคลจับโขมยผ่านดาวเทียม

ประโยชน์ของระบบ GPS Real Time

เพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการและงานบริการ ลดความยุ่งยาก,รายงานและข้อมูลเพื่อวางแผนธุรกิจ,ส่งสินค้าถูกที่ตรงเวลา
ลดต้นทุน ลดอุบัติเหตุ ข้อมูลเที่ยววิ่ง (เวลา,ระยะทาง,ใช้น้ำมัน) ควบคุมความเร็ว,จอดรถติดเครื่อง
รู้ทันพฤติกรรมทุจริต ดูดน้ำมันขาย,เติมน้ำมันไม่ตรงตามจริง,ออกนอกเส้นทาง,ใช้งานส่วนตัว
ป้องกันการโจรกรรม ติดตามรถและสินค้าคืนจากการถูกโจรกรรม