Get Adobe Flash player

การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของประเทศสมาชิกอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้มีการเปิดเสรีทางด้านการค้า การลงทุน ธุรกิจบริการ รวมถึงแรงงานมีฝีมือ ทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามาแข่งขันและเพิ่มสัดส่วน การลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยก็สามารถเข้าไปลงทุนและสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนได้เช่นกัน รวมถึงสร้างโอกาสการค้ากับกลุ่มคู่ค้าสำคัญๆ อย่างเช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี อินเดีย สหภาพยุโรป หรือสหรัฐอเมริกาได้อีกด้วย

สภาพการแข่งขันที่จะสูงขึ้นนี้ จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าไทย ต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน คุณภาพ และลดต้นทุนสินค้า ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่จะยกระดับความสามารถทางการแข่งขันทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ให้กับผู้ประกอบธุรกิจการค้าไทย นั่นคือการพัฒนาประสิทธิภาพและการลดต้นทุนด้านการจัดการลอจิสติกส์ ที่จะเป็นภาคธุรกิจแรกๆ ที่เปิดเสรีเมื่อ AEC เสร็จสมบูรณ์

ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้แบ่งโครงสร้างของบริการลอจิสติกส์ไทย ไว้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ การขนส่งสินค้า การจัดเก็บสินค้า บริการด้านพิธีการต่างๆ บริการงานลอจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเสริม และบริการพัสดุและไปรษณียภัณฑ์ ปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการธุรกิจลอจิสติกส์ในประเทศไทย มี 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบการขนส่งทางบก ขนส่ง ทางน้ำ ขนส่งทางอากาศ ตัวแทนออกของและตัวแทนขนส่ง และคลังสินค้า รวมกว่า 10,000 บริษัท และกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดกลางหรือ SMEs ส่วนผู้ให้บริการลอจิสติกส์แบบครบวงจร มักเป็นบริษัทข้ามชาติ หรือผู้ประกอบการไทยรายใหญ่ๆ เท่านั้น และแม้ผู้ประกอบธุรกิจบริการลอจิสติกส์ของไทยจะมีจุดแข็งที่ความยืดหยุ่นในการให้บริการ แต่เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนลอจิสติกส์ของไทยซึ่งมีตัวเลขเฉลี่ยประมาณ 17.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ก็ยังสูงกว่าประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิงคโปร์และมาเลเซีย
ดังนั้น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนผู้ส่งออก และผู้ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ จึงต้องเร่งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกและอุตสาหกรรมบริการด้านลอจิสติกส์ของไทย เพื่อมุ่งลดต้นทุนลอจิสติกส์ อย่างไรก็ตาม เรื่องที่อยากจะเตือนคือ ให้ผู้ประกอบการตื่นตัวในการพัฒนาศักยภาพ พร้อมทั้งเชิญชวนให้ติดตามข่าวสารจากสำนักลอจิสติกส์การค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง และมีการจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง อาทิ การนำคณะผู้ประกอบการของไทยเดินทางไปเจรจาการค้าในต่างประเทศเพื่อสร้างพันธมิตรทางการค้าพร้อมทั้งขยายตลาด รวมถึงการจัดโครงการลดต้นทุนลอจิสติกส์สำหรับผู้ส่งออก และโครงการศึกษาเส้นทาง การขนส่งเพื่อรองรับ การแข่งขันในอนาคต เป็นต้น

ที่มา : สยามธุรกิจ

 

 ระบบ GPS ติดตามรถส่วนบุคคลและขนส่งสินค้าทั่วไป

 

ระบบ GPS ติดตามรถขนส่งที่ใช้เครื่องรูดบัตรใบขับขี่

 

ระบบ GPS ติดตามรถส่วนบุคคลจับโขมยผ่านดาวเทียม

00717253
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
4205
1170
10625
699629
23651
22166
717253

Your IP: 44.201.24.171
Server Time: 2024-03-28 23:52:51

บทความ

ประโยชน์ของระบบ GPS Real Time

เพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการและงานบริการ ลดความยุ่งยาก,รายงานและข้อมูลเพื่อวางแผนธุรกิจ,ส่งสินค้าถูกที่ตรงเวลา
ลดต้นทุน ลดอุบัติเหตุ ข้อมูลเที่ยววิ่ง (เวลา,ระยะทาง,ใช้น้ำมัน) ควบคุมความเร็ว,จอดรถติดเครื่อง
รู้ทันพฤติกรรมทุจริต ดูดน้ำมันขาย,เติมน้ำมันไม่ตรงตามจริง,ออกนอกเส้นทาง,ใช้งานส่วนตัว
ป้องกันการโจรกรรม ติดตามรถและสินค้าคืนจากการถูกโจรกรรม